แค่เหยียบน้ำขัง...อาจเสี่ยงติดโรคถึงชีวิต! อย่าชะล่าใจ! น้ำขังในซอย หรือในบ้านก็อันตราย
โรคฉี่หนู เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย “เลปโตสไปร่า อินเทอโรแกนส์” (Leptospira interrogans) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน (Zoonotic Disease) โดยเฉพาะผ่านทางการสัมผัสปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ มีหนู เป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญ และสัตว์เลี้ยงเช่น สุนัข, วัว, ควาย, หมู หรือผ่านทางน้ำ และดินที่ปนเปื้อนเชื้อ มักระบาดในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงที่มักเกิดน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรคได้ดี
อาการที่พบบ่อย
ไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ตาแดง ปวดกล้ามเนื้อรุนแรง มักปวดที่น่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลัง
อาการรุนแรง
ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะออกน้อย อุจจาระเป็นสีดำ อาเจียน ไอเป็นเลือด คอแข็ง ระบบหายใจล้มเหลวและอาจเสียชีวิตได้
หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือแช่น้ำ / โคลน เป็นเวลานาน
สวมอุปกรณ์ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ผิวหนัง เช่น รองเท้าบู๊ท ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้าปิดมิดชิด
ทำความสะอาดหลังสัมผัสดิน / น้ำทุกครั้ง หากลงไปในแหล่งน้ำต้องสงสัย
ดื่มน้ำต้มสุก และกินอาหารปรุงสุกใหม่ อาหารที่เหลือเก็บใส่ภาชนะให้มิดชิด ผัก ผลไม้ ควรล้างให้สะอาด ก่อนนำมารับประทาน
รักษาความสะอาด กำจัดขยะ ไม่ให้เป็นแหล่งอาศัยของหนู
กำจัดหนู และไม่ไปสัมผัสสัตว์ที่เป็นพาหะ
หากมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง โดยเฉพาะน่อง และโคนขา มีประวัติสัมผัสสัตว์ที่เป็นพาหะ หรือลุยน้ำ 1-2 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์
ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อให้ท่านได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว กรุณานัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน
#อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวคุณเองและคนที่คุณรัก
Office : 0 2320 5132-5